ประวัติ [1] ของ พระญาณวิศิษฏ์_(ทอง_จนฺทสิริ)

พระญาณวิศิษฏ์ หรือ หลวงพ่อทอง จนฺทสิริ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2475 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี ณ พื้นเพเดิมครอบครัวเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกันทั้งหมด 9 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 5 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 6 ต่อมาครอบครัวอพยพย้ายถิ่นฐานมาปักหลักอยู่ ณ ต.วังใหญ่ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 และอดีตเจ้าอาวาสวัดอโศการาม โดยได้รับสถาปนาตำแหน่งสืบต่อจาก พระเทพโมลี (สำรอง คุณวุฑฺโฒ) ในชีวิตวัยเยาว์ของท่าน ท่านศึกษาจบชั้นเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต้องเลิกเรียนกลางคันเพื่อมาช่วยเหลือทางบ้านทำนาหาเลี้ยงปากท้อง

บรรพชา อุปสมบท

ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2494 ขณะมีอายุได้ 19 ปี ณ วัดป่าคลองกุ้ง ต.ตลาด อ.เมือง จ.จันทบุรี จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 21 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2496 ก่อนย้ายไปพักจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาแก้ว ต.หนองตาคง อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี

ปฏิบัติธรรม

ผู้ที่คอยชี้ทางส่งเสริมให้ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ไม่ใช่ใครอื่นที่ไหน คือ พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมมฺธโร) หรือท่านพ่อลี ธมฺมธโร ผู้ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาแท้ๆ นั่นเอง[2] หลวงพ่อทอง ได้ศึกษาวิชาความรู้จากท่าน ถึงแม้ว่าท่านจะเคยศึกษาวิชาบาลีที่กรุงเทพ ฯ มาแล้วก็ตาม จนมาถึงปี พ.ศ. 2500 ไปจำพรรษาที่สำนักสงฆ์บ้านสันกอเก็ด ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา 3 ปี กระทั่งท่านพ่อลีได้มรณภาพลง ท่านจึงได้กลับมาอยู่ที่วัดอโศการาม และท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอโศการามระหว่างปี พ.ศ. 2534 - 2559 ในด้านพระธรรม หลวงพ่อทองท่านมักจะเน้นเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และท่านก็เคยกล่าวไว้ว่า การฝึกธรรมมะ ต้องรู้จักการฝึกความอดทนไว้ก่อน และต้องมีสติด้วย เพราะมนุษย์ ไม่มีจุดยืนในความคิด ชอบใช้สติปัญญาของตนไปตัดสินโดยการสังหารกิเลสของตนเอง เมื่อสมาธิเป็นสมถะจิตจะบังเกิดความสงบ อย่างบางคนบอกอะไรอนิจจัง อะไรไม่เที่ยง อะไรก็อยู่ไม่ได้ อะไรแตกดับ ทำไมไม่ถึงวิปัสสนา เพราะใจมันยังไม่มีสมถะ ใจมันไม่นิ่ง ใจมันส่ายไปมา พอใจหยุดนิ่ง สิ่งที่เห็นคือพระ สิ่งที่เห็นด้วยใจ ไม่ได้เห็นจากดวงตา สิ่งที่มันเกิดคือผู้รู้แท้ ถ้ารู้ใจเจ้าของคือผู้รู้ตน ใจก็อยู่ที่ใจ ไม่ใช่เอาใจไปไว้ที่หัวหรือบนผม รู้จักที่มาที่ไป ไม่ใช่ไปรู้ตามหนังสือที่เขียน แล้วก็หอบสังขารไป” พระอาจารย์ทองท่านเป็นนักเทศน์ธรรมมะรูปหนึ่ง ที่ติดรับกิจนิมนต์ตลอดเวลา และเป็นศูนย์รวมใจของชาวชุมชนโดยมิเสื่อมถอย วัดอโศการามแวดล้อมไปด้วยธรรมชาติอันร่มเย็นสำหรับเป็นที่พักพิงแก่มวลสรรพสัตว์ฉันใด พระอาจารย์ทองก็เป็นธงธรรมให้ร่มเงาจิตใจแก่ชาวบ้านญาติโยมฉันนั้น

สรีระสังขารพระญาณวิศิษฏ์ (หลวงพ่อทอง จันฺทสิริ) ก่อนการพระราชทานเพลิงศพ ณ.วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

ใกล้เคียง

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) พระญาณรักขิต (แผน โสภโณ) พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร) พระญาณดิลก (ปัญญา สทฺธายุตฺโต) พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม พระญาณวิศิษฏ์ (ทอง จนฺทสิริ) พระญาณกิตติเถระ พระญาติโลกราช พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)